หน้าแรก
สินค้า
เครื่องมือ
ข้อมูล
ติดต่อเรา
เข้าสู่ระบบ
-
ถ้าอยากจะติดโซล่าเซลล์ จะต้องขออนุญาตไหม ใช้เอกสารอะไรบ้าง
ในการติดตั้งโซล่าเซลล์ระบบออนกริด หรือเรียกอีกอย่างนึงว่าเป็นระบบที่ต้องต่อไฟฟ้าที่เราผลิตขึ้นจากพลังงานแสงอาทิตย์เข้ากับการไฟฟ้า จะต้องมีการขออนุญาตจากหน่วยงานรัฐ 3 หน่วยงาน ซึ่งโดยสรุปจะมี
ท้องถิ่น (เขต หรือ อบต)
สำนักงานกำกับกิจการพลังงาน (กกพ)
การไฟฟ้านครหลวง (กฟน) หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ)
เรามาดูทีละลำดับกันนะครับ
ท้องถิ่น (เขต หรือ อบต)
ท้องถิ่น หากอยู่ในกรุงเทพเราจะเรียกว่าเขต หากอยู่ต่างจังหวัดเราจะเรียกว่า อบต หรือ องค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งโดยปกติแล้ว ในการดัดแปลงอาคาร จะต้องทำการแจ้งต่อท้องถิ่น เพื่อขอออกใบอนุญาตดัดแปลงอาคาร หรือ อ.1 นั่นเอง
แต่เมื่อปี 2558 ได้มีการออกกฎกระทรวงฉบับที่ 65 ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารปี 2522 โดยระบุข้อยกเว้นของการติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาที่ใช้พื้นที่ไม่เกิน 160 ตารางเมตร และ น้ำหนักไม่เกิน 20 กิโลกรัมต่อตารางเมตร จะถือว่าไม่เป็นการดัดแปลอาคาร
ซึ่งโดยปกติแล้วการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ขนาด 5-10kW มักจะใช้พื้นที่ไม่เกิน 160 ตารางเมตรอยู่แล้ว รวมถึงน้ำหนักต่อตารางเมตรไม่ถึง 20 กิโลกรัมด้วย
ดังนั้นโดยปกติแล้วระบบโซล่าเซลล์บนหลังคา 5-10kW ไม่มีความจำเป็นต้องขอใบ อ.1 เพียงแต่ต้องมีผลการตรวจสอบจากวิศวกรโยธา และต้องแจ้งต่อพนักงานท้องถิ่นให้ทราบเพียงเท่านั้น
สำนักงานกำกับกิจการพลังงาน (กกพ)
สำนักงานกำกับกิจการพลังงาน หรือ กกพ เป็นหน่วยงานที่ดูภาพรวมและควบคุมภาพรวมของการผลิต และการใช้พลังงานทั้งหมดของประเทศ ดังนั้น ในการที่จะมีแหล่งผลิตพลังงานเพิ่มขึ้น และการใช้พลังงานลดลง มีผลต่อการวางแผนสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ในอนาคต ในการติดตั้งโซล่าเซลล์จึงมีความจำเป็นต้องแจ้งทาง กกพ ให้ทราบ โดยแจ้งได้ที่ xxx.com
โดยระบบผลิตพลังงานจากแสงอาทิตย์ที่กำลังของ inverter น้อยกว่า 1,000 kVA หรือ 1,000kVA x 0.8 = 800kW สามารถแจ้งยกเว้น การผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังานแสงอาทิตย์
โดยเอกสารที่ต้องใช้ร่วมการขอยกเว้น คือ ใบ อ.1 หรือ หนังสือคำร้องแจ้งติดตั้งโซล่าเซลล์ ที่ได้จากท้องถิ่นแทน และทำการยื่นเอกสารที่ กกพ เขต
การไฟฟ้านครหลวง (กฟน) หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ)
หน่วยงานถัดมาที่ต้องทำการขออนุญาตคือ การไฟฟ้า โดยจะเป็นการไฟฟ้านครหลวง (กฟน) หรือ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ) ซึ่ง 2 หน่วยงานนี้มีความแตกต่างกันตรงที่ กฟน จะดูแลพื้นที่ส่วนของกรุงเทพและปริมณฑลเป็นหลัก ในขณะที่ กฟภ จะดูแลจังหวัดอื่นๆ
โดยที่ทั้งสองหน่วยงานเป็นผู้ดูแลระบบโครงข่ายไฟฟ้า (แตกต่างจาก การไฟฟ้าฝ่ายผลิต หรือ กฟผ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูแลเรื่องการผลิตเป็นหลัก) ดังนั้น ทั้งสองหน่วยงานจะเป็นหน่วยงานที่ให้อนุญาตการขนานไฟเข้ากับโครงข่ายไฟฟ้า โดยการไฟฟ้าทั้ง 2 หน่วยงานจะต้องทำการดูว่า กำลังไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งทั้งหมด เกินที่หม้อแปลงแต่ละพื้นที่จะรับได้หรือไม่
โดยเอกสารที่ต้องใช้ในการยื่นเพื่อให้การไฟฟ้าเข้ามาตรวจสอบ และอนุญาตขนานไฟคือ “แบบแจ้งการประกอบกิจการพลังงาน ที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาต” จากทาง กกพ
จะเห็นว่า เอกสารต่างๆที่ต้องใช้จะมีความต่อเนื่องกัน และเป็นขั้นตอนทอดๆกันไป
แต่โดยทั่วไปแล้ว เอกสารที่ได้รับจากทาง กกพ จะใช้เวลาไม่แน่นอน และค่อนข้างนาน โดยมากเมื่อแจ้งให้ทางท้องถิ่นทราบแล้ว ทางผู้รับเหมาจะทำการเข้าติดตั้งเลย และค่อยยื่นเอกสารให้ทาง กกพ และการไฟฟ้าไปพร้อมๆกับการติดตั้งนั่นเอง
บริการของเรา
หาผู้ติดตั้ง
คำนวนระบบ
ปรึกษา