solar-dec-logosolar-dec-text
เข้าสู่ระบบ
ติดโซล่าเซลล์

ประมาณขนาดติดโซล่าเซลล์ ด้วยเครื่องช่วยคำนวณขนาด Solar Dec



ในหลายๆบทความ หลายท่านอาจจะได้เห็นการใช้เครื่องมือการติดตั้งโซล่าเซลล์ไปบ้างแล้ว ในบทความนี้เราจะอธิบายขั้นตอนการใช้งาน รวมถึงความสำคัญของการกรอกข้อมูลในช่องต่างๆให้ได้เข้าใจกันครับ



solar-energy-profile-blog

วิธีการกรอกข้อมูลลงไปบนโปรแกรมช่วยคำนวณขนาดติดตั้ง



ก่อนอื่นให้เรากดเข้าไปที่เมนู “คำนวณระบบ” จากนั้นจะขึ้นช่องให้เรากรอกข้อมูลต่างๆลงไป


solar-energy-profile-blog

อย่างแรกที่เราต้องกรอกเข้าไปคือ

  1. ค่าไฟฟ้าเฉลี่ย สิ่งที่เราต้องกรอกเข้าไปเป็นค่าไฟฟ้าเฉลี่ยของทั้งปีครับ ให้เราใช้ตัวเลขคร่าวๆเป็นค่าเฉลี่ย ตัวอย่างเช่น ใช้ตัวเลขที่เรานึกออกทันที เมื่อมีคนถามว่าค่าไฟต่อเดือนของเราเท่าไหร่ ในที่นี้ใช้ตัวเลข 8,000 บาทต่อเดือน
  2. จำนวนผู้อยู่อาศัย ตรงนี้จะเอาไปประมาณการ ปริมาณการใช้ไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆที่มีอยู่ในบ้านเรา โดยผู้อยู่อาศัย คือคนที่ใช้อาคารนั้นเป็นหลัก ตัวอย่างเช่น หากเป็นบ้าน ก็คือคนที่อยู่บ้านทั้งหมด ทั้งกลางวันและกลางคืน หากเป็นออฟฟิศหรือร้านค้า จะรวมพนักงานทั้งหมด แต่ไม่รวมลูกค้า หรือผู้มาติดต่อที่เดินเข้าออก ในกรณีนี้ใช้เป็นบ้านพักอาศัย อยู่ทั้งหมด 4 คน
  3. แอร์ช่วงกลางคืน และแอร์ช่วงกลางวัน ตรงนี้เราจะนับแอร์ 10,000 BTU เป็นแอร์ 1 เครื่องนะครับ จากในตัวอย่างเราใช้แอร์ช่วงกลางวัน ขนาด 10,000 BTU เป็นจำนวนทั้งหมด 4 ตัว และใช้แอร์ 10,000 BTU ทั้งหมด 3 ตัวในช่วงกลางคืน ดังนั้นแอร์ในช่วงกลางวันเราจะใส่เลข 4 ลงไป และแอร์ในช่วงกลางคืนเราจะใส่เลข 3 ลงไปตามรูป
  4. ประเภทการใช้อาคาร ตรงนี้เราต้องบอกระบบด้วยว่า เราใช้สำหรับบ้านอยู่อาศัย ออฟฟิศ หรือร้านค้า ซึ่งตรงนี้จะเป็นการปรับการใช้ไฟฟ้าให้ตรงกับความเป็นจริงครับ เนื่องจากในแต่ละการใช้งานอาคาร จะมีลักษณะการใช้ไฟที่แตกต่างกัน ในกรณีนี้เราใช้อาคารเป็นที่อยู่อาศัยปกติ

พอเรากรอกข้อมูลทั้งหมดข้างต้นแล้ว เราก็กดคำนวณ ระบบก็จะคำนวณการใช้ไฟ้ฟ้า ไฟที่ผลิตได้ และไฟที่ขายทั้งหมดให้เรา


solar-energy-profile-blog

วิธีอ่านผลจากกราฟ และค่าต่างๆ



โดยในกราฟสีเหลือ คือการผลิตไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์ ซึ่งเป็นไฟฟ้าที่ถูกใช้หมดทันที สีแดงคือการใช้ไฟฟ้าส่วนเกินที่เราจำเป็นตัวดึงจากการไฟฟ้า ส่วนสีเขียวคือการผลิตไฟฟ้าส่วนเกินจากการใช้งานที่มาจากจากระบบโซล่าเซลล์ของเรา และขายกลับให้การไฟฟ้า

โดยโปรแกรมจะแนะนำค่าต่างๆมาให้เราโดยมีความหายดังนี้

  1. ขนาดระบบโซล่าเซลล์ ที่เหมาะกับบ้านของเรา (หากค่าเป็น 0 แปลว่าบ้านเราอาจจะไม่เหมาะกับการติดตั้งโซล่าเซลล์) โดยในรูปจะแสดงขนาดระบบโซล่าเซลล์ที่เหมาะกับบ้านเราคือ 5kW
  2. บรรทัดถัดมา ลดค่าไฟได้ประมาณ คือในเดือนๆนึงบิลค่าไฟเราจะลดค่าไฟหรือประหยัดค่าไฟไปประมาณเท่าไหร่นั่นเอง ซึ่งตรงนี้จะเป็นแค่ค่าเฉลี่ยเท่านั้นนะครับ ตรงนี้เราจะประหยัดได้ 3,239 บาทต่อเดือน
  3. รายได้จากการขายไฟฟ้า คือไฟฟ้าส่วนเกินที่เราผลิตได้จากโซล่าเซลล์ และใช้ไม่หมด และเราขายกลับให้การไฟฟ้า ตรงนี้เราจะได้แค่ในกรณีที่เราขออนุญาตถูกต้อง และได้เข้าร่วมโครงการขายไฟฟ้ากลับให้การไฟฟ้าเท่านั้น ในกรณีนี้เราจะได้เงินคืนจากการไฟฟ้าทั้งหมด 63 บาทต่อเดือน ตรงนี้หลายคนอาจจะรู้สึกว่าดูเหมือนน้อย แต่ในความเป็นจริงแล้ว ยิ่งเหลือขายกลับให้การไฟฟ้าน้อย แปลว่าเราประมาณขนาดระบบได้เหมาะกับบ้านเรา จะทำให้ระยะเวลาการคืนทุนช้าลง
  4. ระยะเวลาการคืนทุน ความหมายคือ เงินที่เราจ่ายค่าระบบโซล่าเซลล์ไปจะได้คืนจากการประหยัดไฟ และการขายไฟฟ้ากลับภายในกี่ปี ในที่นี้จะคืนใน 5.64 ปี หากไม่มีเงาใดๆ และไม่มีการหยุดระบบในระหว่างปี
  5. พื้นที่หลังคาที่ต้องการ คือพื้นที่หลังจากที่ใช้ในการติดตั้งโซล่าเซลล์ขนาดระบบตามที่แนะนำไป โดยหลังคาควรเป็นหลังคาที่หันไปทางทิศเหนือ หรือหากหันไปทางทิศตะวันออก หรือตังวันตก ไม่ควรเป็นหลังคาที่มีความชันมาก ในที่นี้เราจะต้องใช้ทั้งหมด 36 ตารางเมตร โดยหลังคาส่วนนี้สามารถวัดคร่าวๆได้จาก google earth โดยนับเฉพาะหลังคาที่หันไปทางทิศเหนือ
  6. ราคาระบบ ราคาระบบจะเป็นราคาคร่าวๆ หากเป็นระบบ 3kW 5kW จะเป็นราคาคร่าวๆสำหรับระบบ 1 เฟส โดยหากบ้านไหนใช้ระบบ 3 เฟส ให้บวกเพิ่มไปประมาณ 20,000 บาท ส่วนสำหรับระบบ 10kW ขึ้นไปจะใช้ราคาของระบบ 3 เฟสเป็นหลัก ในการคำนวณนี้จะแสดงราคาที่ 190,000 บาท หากบ้านเราเป็นระบบ 3 เฟส จะเป็น 190,000 + 20,000 = 210,000 บาท